รายละเอียดสินค้านี้
พระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าว (Goddess of rice)
วันนี้ได้มีโอกาสพบกับ รศ.ดร.สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงานแถลงข่าว “การนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีนานาชาติ : เวที 46th International Exhibition of Inventions Geneva และเวที 8th International Engineering Invention & Innovation Exhibition 2018 (i-ENVEX 2018)” จึงได้ขอให้ท่านเล่าถึงความภาคภูมิใจกับผลงานในครั้งนี้
ผมนำความภาคภูมิใจของความเป็นไทยโดยนำศิลปะและวัฒนธรรม เข้ามาหล่อหลอมเป็นงานประติมากรรมชั้นสุดยอด ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าทางจิตใจ และเพื่อให้ชาวนาได้มีที่ยึดเหนี่ยว สร้างขวัญ กำลังใจ กราบไหว้ขอพรกัน แล่ะสิ่งนี้คือ พระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าว (Goddess of rice)
ความสำคัญและที่มาของการวิจัยสร้างสรรค์
ข้าวเป็นธัญพืชที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมาแต่อดีตกาล เพื่อการดำรงอยู่และหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ให้ความสำคัญและในฐานะพืชพรรณที่จุนเจือโลกทั้งชาวตะวันตก และโดยเฉพาะชาวตะวันออกมีหลายประเทศปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีพิธีกรรมและความเชื่อ ที่มีความเหมือนและคล้ายคลึงกันในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการ ทำนาปลูกข้าวก็จะมีการทำขวัญหรือพิธีขอพรแด่พระโพสพในฐานะเทพีแห่งข้าว ในการและการกสิกรรมเป็นการแสดงความเคารพบูชาในเชิงจิตวิทยา ถือว่าเป็นเรื่องของการส่งเสริมกำลังใจภาคเกษตรกรรม งานประติมากรรมก็จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นรูปลักษณ์แห่งจินตภาพที่มาจากภายใน(Mental Image) เชื่อมโยงความเชื่อของมนุษย์กับชุมชนในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติพืชพันธุ์ธัญญาหารที่มีคุณค่าแก่ชีวิต ในเชิงบุคลาธิษฐาน (Personification) การแสดงอุดมคติทางความรู้สึกสภาวะ แห่งความเป็นเทพธิดาที่เหนือไปจากมนุษย์ปกติ แสดงทิพย์ภาวะของรูปลักษณ์ เทพธิดาระดับสูงซึ่งภาพลักษณ์ของพระแม่โพสพ ทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม ต่างก็มีการสร้างสรรค์ขึ้นแต่ยังไม่มีการรวบรวมและพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบันจึง ได้ทำการวิจัยสร้างสรรค์ในเรื่องนี้
นวัตกรรมรูปประติมากรรมพระแม่โพสพเทพีแห่งข้าว
เป็นศิลปะที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ซึ่งรูปลักษณ์แห่งศรัทธานี้เกิดจากการพัฒนาจากเดิมที่เป็นประติมากรรมที่ปั้นด้วยดินเหนียวหรือจะสลับไม้ที่ไม่มีความคงทน จึงสร้างเป็นโลหะบรอนซ์ ดังนั้นถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการทำผิวโลหะบรอนซ์
นำเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศิลปะมาผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว
นวัตกรรมในงานประติมากรรมพระแม่โพสพเทพีแห่งข้าวนี้ เป็นการเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความเข้าใจเรื่องสีกับปฏิกิริยาทางเคมีมาใช้กับการทำสีโลหะทองแดงและสร้างสรรค์สีสนิมเขียวพิเศษ ด้วยเทคนิคทำสีผิวโลหะ (patina) ซึ่งเป็นการใช้ความรู้ทางสูตรเคมีในการนำสีผิวโลหะอันเป็นวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงกับการคำนวณอุณหภูมิในการหลอม ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์กับงานศิลปะเข้าด้วยกันให้เกิดสุนทรียะใหม่ทางศิลปะบูรณาการทั้งสองศาสน์ เพื่อให้บรรลุความงานก่อเกิดความศรัทธาต่อรูปเคารพอันมีผลทางจิตใจต่อผู้บูชา คือชาวนาผู้ผลิตข้าวจึงเป็นการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อชุมชนและมวลชนในปลายทางของงานวิจัยพระแม่โพสพจึงมีความหมายและความสำคัญยิ่งต่อขวัญและกำลังใจของชาวนาผู้ผลิตเมล็ดข้าว
ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณาการ
การสร้างสรรค์นวัตกรรมประติมากรรมพระแม่โพสพด้วยโลหะ และการทำสีสนิมเขียวเป็นรูปเทพีแห่งข้าว เพื่อติดตั้งกลางชุมชนของโรงเรียนชาวนา พุทธเศรษฐศาสตร์ ณ ศูนย์วิปัสสนาสากล ไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกข้าวและพิธีการสร้างขวัญและกําลังใจในการบูชาพระแม่โพสพ โดยมี วัด ชุมชน และนักวิจัย นับเป็นตัวขับเคลื่อน มีตัวแทนวัดคือพระสงฆ์ร่วมด้วยกับชุมชนชาวนาประมาณ 500 ครอบครัว และมีนักวิจัยผู้สร้างสรรค์อันเป็น 3 ส่วนแห่งการบูรณาการ เพื่อทำให้วัฒนธรรมการปลูกข้าวและการเรียนรู้วิธีบูชา เพื่อขวัญและกำลังใจในการทำนาปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีได้ก่อเกิดประโยชน์เลี้ยงชีพมนุษย์ ฉะนั้น “ข้าว” จึงเป็นวิถีชีวิตมากกว่าเป็นแค่อาหารเลี้ยงชีพ ประติมากรรมพระแม่โพสพเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของชุมชนและบ่อเกิดวัฒนธรรมข้าวในสังคมเกษตรกรรมทั่วภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
ความตั้งใจในการจัดสร้างเหรียญพระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าว (Goddess of rice)
เทพีที่นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ภาคการเกษตรของไทย ด้วยความตั้งใจของชมรมฯ จนกระทั่งผลงานนี้ได้กลายเป็นเหรียญประวัติศาสตร์ที่เป็นเลิศด้านพุทธศิลป์จนยากยิ่งที่จะมีใครรังสรรค์ได้สำเร็จด้วยดีเช่นนี้
ทั้งนี้ยังได้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หลักสองประการคือเพื่อนำรายได้หักค่าใช้จ่ายไปสนับสนุนการสร้างโอกาสให้กับผู้คนได้เรียนรู้และดำรงชีวิต ด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนในชนบทอีกด้วย
เครดิต http://www.phototechthailand.com/articles/388
รูปภาพสินค้า