ดูสินค้าทั้งหมด
Notice
  • Login
  • สมัครสมาชิก
  • ลืม password
  • Thai
แสงไพบูลย์ไลท์ติ้ง

สถิติเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :18/5/2009
ปรับปรุงเว็บล่าสุด :23/4/2024
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :38261081
สินค้า

ท่อร้อยสายไฟ

 รายละเอียดบทความ  วันที่โพส : 21/2/2015  จำนวนคนเข้าชม : 1890


สายไฟในบ้านเราปกติมีทำกันอยู่ 2 ชนิดคือ สายไฟสีขาวหุ้มไวนิล ซึ่งช่างไฟจะเดินสายแนบไปตามผนังแล้วตีกิ๊บโลหะ ส่วนอีกชนิดคือ สายไฟที่เป็นสีๆ เส้นเล็กๆ (ภาษาช่างเรียกสายไฟชนิดนี้ว่า สายไฟแบบ THW) ซึ่งจะต้องเดินสายในท่อโลหะหรือท่อพีวีซีและส่วนใหญ่ก็จะฝังเข้าไว้ในผนัง ทำให้บ้านดูสะอาดตา ไม่เห็นแนวรอยของสายไฟเหมือนกับสายชนิดแรกที่เดินสายโชว์


แต่หลายครั้งที่เกิดความเข้าใจผิดกันว่า เจ้าท่อโลหะหรือท่อพีวีซีที่มีสายไฟสีๆ เล็กๆ อยู่ข้างในนั้น ใช้สำหรับป้องกัน "ปูน" เวลาที่ต้องฝังอยู่ในผนังก่ออิฐ (ส่วนใหญ่) พอแนวทางของสายไฟต้องขึ้นไปอยู่ที่ฝ้าเพดานก็เลยเลิกท่อร้อยสายนั้น ปล่อยสายให้เปลือยๆ ไม่มีท่อเดินวางอยู่ที่โครงคร่าวของฝ้าเพดาน ทำให้ประหยัดค่าท่อไปได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งการทำเช่นนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก และเป็นความคิดที่ผิด เพราะเป็นการประหยัดที่ไม่ถูกต้อง และคุณอาจจะต้องเสียบ้านไปทั้งหลังเพราะการประหยัดเช่นนี้


เพราะสายไฟที่ใช้เดินลอยธรรมดานั้น หากดูดีๆ จะพบว่ามีฉนวน 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นฉนวนที่หุ้มสายโลหะเอาไว้ และฉนวนอีกชั้นหนึ่งจะหุ้มสายที่มีฉนวนชั้นแรกเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง เป็นการป้องกันการขูดขีดหรือกระทบกระทั่ง ทำให้สายเกิดอาการ "เปลือย"และเกิดไฟรั่ว อันจะทำให้เสียค่ากระแสไฟให้การไฟฟ้าค่อนข้างสูงและเป็นอันตรายได้ ส่วนสายไฟที่ใช้เดินในท่อโลหะหรือท่อพีวีซีนั้น จะเป็นสายไฟที่มีฉนวนชั้นเดียว แต่ที่ไม่กลัวอันตรายหรือกลัวไฟรั่ว ก็เพราะมีท่อโลหะหรือท่อพีวีซีห่อหุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่ง หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นเหตุการณ์จะเกิดขึ้นภายในท่อซึ่งไม่เป็นอันตรายมาก มายนัก เมื่อเดินสายไฟในท่อเอาไว้ที่ผนัง แต่พอถึงฝ้าเพดานเอาท่อออก สายไฟที่มีฉนวนบางเพียงน้อยนิดก็อาจจะไปครูดกับโครงคร่าวโลหะของฝ้าเพดานที่ แสนบางและแสนคม โอกาสที่ฉนวนจะถูกขูดลอกออกจึงเป็นไปได้ง่าย จะเกิดอาการ "ไฟฟ้ารั่ว" เข้าสู่โครงคร่าวโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้สูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปโดยเปล่าประโยชน์ และหากมีการผิดพลาดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นมา เหตุการณ์ไฟไหม้ (อย่างที่พบเห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ) ก็อาจจะเกิดขึ้นกับบ้านอันเป็นที่รักของคุณได้


ดังนั้น อย่าเสียดายค่าท่อโลหะหรือท่อพีวีซีที่ใช้ห่อหุ้มสายไฟประเภทนี้ ต้องบอกช่างไฟฟ้า (และจ่ายเงินเพิ่ม) ให้เดินท่อตลอดแนวไปทุกหนทุกแห่ง แม้จะเป็นเรื่องที่มืองไม่เห็นหรือนึกไม่ถึงก็ตามที เป็นการเสียเงินเพิ่มอีกนิดเดียว (นิดเดียวจริงๆ) แต่มีความปลอดภัยและเป็นการประหยัดไฟ (อันเกิดจากไฟฟ้ารั่ว) ได้คุ้มค่าจริงๆ

ที่มา : หนังสือสร้างบ้านให้คุ้มค่าเงิน โดยยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

ถูกใจบทความนี้ ช่วยกดไลค์หรือแชร์กันหน่อยนะ...
ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้
Save Progress..